วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การใช้ Used to / Would



used to แปลว่า เคยทำในอดีตแต่ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว

โครงสร้างประโยคคือ used to + infinitive

ตัวอย่าง
When I was a postman, I used to walk miles every day.
ตอนฉันเป็นบุรุษไปรษณีย์นะ ฉันเคยเดินเป็นระยะทางหลายๆไมล์ทุกวัน

We used to play that game when we were young.
เราเคยเล่นเกมนั้นตอนเรายังเด็ก

I used to smoke, but I have been giving it up for ten years.
ฉันเคยสูบบุหรี่นะ แต่เลิกได้เป็นสิบปีแล้ว
.....................................................................................................................................

แถมการใช้ be หรือ get used to แปลว่า ชิน หรือคุ้นเคยกับการทำบางสิ่ง

โครงสร้างมีดังนี้
be หรือ get + used to + กริยาเติม ing หรือ คำนาม

ตัวอย่าง
I am a postman, I am / get used to walking. I can walk miles.
ฉันเป็นบุรุษไปรษณีย์ ฉันชินกับการเดินแล้วล่ะ ฉันสามารถเดินเป็นไมล์ๆเลย

We’re used to getting up early. We do it every day.
เราชินกับการตื่นแต่เช้า เราทำแบบนี้ทุกวัน

She gets used to living alone.
หล่อนชินกับการอยู่คนเดียว

He was / got used to helping his neighbors.
เขาคุ้นเคยกับการช่วยเหลือเพื่อนบ้าน (ช่วยเป็นประจำ)

We aren’t used to cooking.
เราไม่คุ้นเคยกับการทำอาหาร


Would

เป็นรูปอดีตของ will แปลว่า จะ มีวิธีใช้ ดังนี้

1. ใช้ would เป็นรูปอดีตของ will ในประโยค Indirect Speech เช่น
Warmy said : ‘ The university will be closed on Monday.’
Warmy said that the university would be closed on Monday.
วอร์มมี่พูดว่า มหาวิทยาลัยจะปิดในวันจันทร์

She said : ‘ I will not study here any more.’
She said that she would not study here any more.
หล่อนพูดว่าหล่อนจะไม่เรียนที่นี่อีกต่อไป แล้ว

2. ใช้ would เพื่อแสดงความตั้งใจ หรือการกำหนดครับ เช่น

Warmy said he would visit his friends.
วอร์มมี่พูดว่า เขาจะไปเยี่ยมเพื่อนของเขา (ความตั้งใจ)

Warmy said he would try his best to help you.
วอร์มมี่พูดว่าจะพยายามช่วยคุณเต็มที่เลย (ความตั้งใจ)

Warmy would have his own way.
วอร์มมี่มีทางเดินเป็นของตนเอง (การกำหนด)

Warmy would apply for this position.
วอร์มมี่จะสมัครงานในตำแหน่งนี้ (การกำหนด)

3. ใช้ would เพื่อแสดงการกระทำเป็นประจำในอดีต หรือนิสัยในอดีตอ่าครับ เช่น

Warmy would sit there and write her note book.
วอร์มมี่มักจะนั่งที่ตรงนั้นแล้วเขียนบันทึก

After lunch the students would sit in the classroom and chat for a while.
หลังทานอาหารเที่ยงแล้วนักเรียนกลุ่มนี้มั กจะนั่งในห้องเรียนแล้วคุยกันครู่หนึ่ง

Warmy would return home and watch TV daily.
วอรืมมี่มักจะกลับบ้านแล้วดูรายการทีวีทุก วัน

4. ใช้ would และ would like เพื่อเป็นการแสดงความประสงค์ครับ เช่น

Warmy would know what his duty is.
วอร์มมี่อยากรู้ว่างานของเขาคืออะไร

I would like to see it later.
ผมจะดูภายหลังแล้วกัน

He would like to read the book first.
เขาต้องการอ่านหนังสือเป็นอันดับแรก

5. ใช้ would rather เพื่อแสดงทางเลือก หรือการชอบมากกว่าครับ เช่น

I would rather die than marry him.
ให้ฉันตายดีกว่าแต่งงานกับเขา

Warmy would rather go out than stay at home.
ให้วอร์มมี่ไปข้างนอกดีกว่าให้อยู่บ้าน

6. ใช้ would เพื่อเป็นการถามคำถามแบบสุภาพ (polite questions) เช่น

Would you like a cup of tea?
รับชาสักถ้วยไหมครับ

Would you mind lending me your car for an hour?
คุณจะว่าอะไรไหมครับถ้าผมจะขอยืมรถของคุณสักชั่วโมง

Would you mind typing the letter for me?
คุณจะว่าอะไรไหมครับถ้าผมจะขอให้พิมพ์จดหมายให้สักฉบับ

7. ใช้ would ในประโยคหลัก ซึ่งวางอยู่หน้าหรือหลังประโยครอง เพื่อเป็นการแสดงเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ เช่น

If Warmy studied hard, he would pass the test.
ถ้าวอร์มมี่เรียนหนักเขาคงสอบผ่านแล้ว

If I were a poet. I would express my feelings to you.
ถ้าฉันเป็นนักประพันธ์ ฉันคงอธิบายความรู้สึกของฉันให้เธอรู้แล้ว

Warmy would be punished if he wrote on the wall.
วอร์มมี่จะถูกลงโทษ ถ้าเขาเขียนบนกำแพง

8. ใช้ would วางไว้หลัง wish เพื่อแสดงความตั้งใจ เช่น

I wish I would know his address.
ผมหวังว่าจะรู้ที่อยู่ของเขา

Warmy wish he would visit Pai.
วอร์มมี่หวังว่าจะได้ไปเที่ยวปาย




คำนามทั่วไป (Common Noun) คำนามเฉพาะ (Proper Noun)

คำนามทั่วไป (Common Noun) และคำนามเฉพาะ (Proper Noun)
เราก็ได้เรียนรู้ไปแล้วนะครับว่าคำนามทั่วไปคือ คำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
คำนามเฉพาะคือชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
วันนี้เราจะได้เรียนแบบเจาะลึกลงไปอีกนะครับ ว่าคำนามทั่วไป กับคำนามเฉพาะมีอะไรบ้าง
1. คำนามทั่วไป (Common Noun) คือ คำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ทั่วๆ ไป ไม่เป็นการเจาะจง ลองมาดูตัวอย่างกัน
คน:
boy, girl, man, woman, father, mother, son, daughter, king, queen, teacher, doctor, student, nurse, cook
สัตว์:
cat, dog, bird, lion, tiger, fish, fly, spider, snake, whale
สิ่งของ:
car, pen, map, bed, table, pillow, telephone, window, champoo, soap, powder, radio
สถานที่:
church, school, post office, police station, bank, market, hotel, hospital, restaurant, railway station

2. คำนามเฉพาะ (Proper Noun) คือ ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
คน:
Sam Smith, David Beckham, Barak Obama, Britney Spears, Simon, Somsee, Somchai, Saichon
สัตว์:
Simba, Angel,Jerry, Buddy, Adam, Alwin, Bruno, Pluto, Kenney, Braily, Toto
สิ่งของ: ปกติจะเป็นยี่ห้อของสินค้าต่างๆ
Toyota, Lux, Samsung, Sony, Apple, Pantine, Panasonic, Honda
สถานที่: หมู่บ้าน เมือง ประเทศ ทวีป
London, Tokyo, Canada, Italy, Asia, Africa, Singapore, China, Uinited States, England
ชื่อองค์กรต่างๆ:บริษัท ห้างร้าน โรงเรียน โรงแรม
Oxford University, Toyota Corporation, DBS Bank
วัน เดือน วันหยุด :
December, June, Monday, Sunday, Valentine, Christmas
สัญชาติ :
Thai, Japanese, Chinese, American, English, Australian
สิ่งก่อสร้าง :
Big Ben, Buckingham Palace, the Taj Mahal, the Great wall of China, the Statue of Liberty
ธรรมชาติ: แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ทะเลทราย มหาสมุทร ภูเขา เกาะ
the Nile River, Mount Fuji, the Pacific, the Red Sea, the Grand Canyon, the Sahara
คำนามเฉพาะจะขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประโยค

Parts of Speech

Parts of Speech ส่วนของคำพูด

Part of speech คืออะไร มีอะไรบ้าง

ก่อนอื่นลองอ่านเนื้อเรื่องง่ายๆ นี้ก่อนครับ
My name is Tom. (นาม)
I am American. (สรรพนาม)
I’m tall and slim. (คุณศัพท์)
I can play tennis. (กริยา)
And I can run fast. (กริยาวิเศษณ์)
I love Thailand and Thai people. (สันธาน)
It’s hot in April. (บุรพบท)
Well!! I must go now. Bye. (อุทาน)

สรุปแล้ว parts of speech คือ คำชนิดต่างๆ ซึ่งมีด้วยกัน 8 ชนิด
1. Noun (คำนาม) คือคำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ (รวมถึง ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่)
• คน เช่น boy girl man student doctor king father/ John Sam Ted Tom
• สัตว์ เช่น dog cat bird tiger / Simba Kitty
• สิ่งของ เช่น TV radio fan car soap / Sony Samsung Lux
• สถานที่ เช่น market bank city country / London Thailand England
2. Pronoun (สรรพนาม) คือ คำที่ใช้แทนคำนามด้านบน เช่น I you he she it this that
3. Adjective (คุณศัพท์) คือคำที่ใช้บอกลักษณะของคำนาม เช่น tall short small big
4. Verb (กริยา) คือคำที่ใช้แสดงการกระทำ เช่น go come run walk
5. Adverb (กริยาวิเศษณ์) คือคำที่ใช้อธิบายการกระทำว่าทำอย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เช่น fast slowly here there today yesterday
6. Conjunction (คำสันธาน) คือคำที่ใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยค เช่น and but or so
7. Preposition (คำบุรพบท) คือคำที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของคำ เช่น in on at by from
8. Interjection (คำอุทาน) คือคำที่ใช้แสดงอารมณ์ตื่นเต้น ดีใจ เสียใจ เช่น wow eh um
แล้วหัวข้อไหนที่ควรเรียนให้แจ่มแจ้ง และตัวไหนไม่จำเป็น
หัวข้อที่ไม่จำเป็นต้องเรียนให้แจ่มแจ้งคือ 5 6 7 8 เพราะไม่มีอะไรซับซ้อน คล้ายภาษาไทยเลย
ส่วน 4 ข้อแรกต้องศึกษาให้ละเอียดแจ่มแจ้งหน่อย เพราะกฎเกณฑ์ต่างจากภาษาไทยค่อนข้างมากทีเดียว ซึ่งหัวข้อที่ควรศึกษามีรายละเอียดดังนี้
1. คำนาม
• นามทั่วไป กับนามเฉพาะ (เรียนผ่านแล้วผ่านเลย ไม่สำคัญเท่าไหร่)
• นามเอกพจน์ พหูพจน์ (เรียนให้เข้าใจ จำให้ได้) เพราะ
– การเปลี่ยนเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าคำนั้นมีพยัญชนะตัวใดลงท้าย เช่น s, sh, ch, x, o, y, f เป็นต้น
– นามพหูพจน์บางตัวไม่เปลี่ยนรูปเลย ไม่ว่าเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ เช่น deer sheep fish
– นามบางตัวลงท้ายด้วย s ซึ่งน่าจะเป็นพหูพจน์ แต่กลับเป็นเอกพจน์เฉยเลย เช่น news, physics
– นามบางตัวเปลี่ยนสระภายในเพื่อแสดงความเป็นพหูพจน์ เช่น men children
– และอื่นๆ อีก
2. สรรพนาม
• บุรุษสรรพนาม (Personal pronoun) สรรพนามที่คนไทยสับสนเพราะมี 2 ประเภท แยกชัดเจนว่าตัวไหนเป็นประธาน ตัวไหนเป็นกรรม
3. คุณศัพท์
• แปลงร่างได้ สามแบบ คือ ขั้นปกติ ขั้นกว่า ขั้นสูงสุด และมีหลักเกณฑ์แยกย่อยไปอีกว่าทำยังไงให้ถูกต้องตามหลักภาษา
4. กริยา
• สุดยอดของหัวใจวายากรณ์ สุดยอดแห่งความยาก (สำหรับนักเรียนส่วนใหญ่ เพราะขี้เกียจจำ)
• กริยาหนึ่งตัวแปลงร่างได้หลากหลายเช่น go goes going went gone ทั้งหมดที่เห็นนี้แปลว่า ไป แต่ไปคนละแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเอาไปใช้ Tense อะไร
• กริยาแต่ละ Tense มีหน้าตาไม่เหมือนกันเลย หรือมีเหมือนกันบ้าง
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ต้องเรียนให้เข้าใจ เพราะเป็นหัวใจของหลักภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง เดี๋ยวครูจะพาลุยด่าน 18 อรหันต์เองครับ รับรองไม่ยากหรอกไวยากรณ์หน่ะ