วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Parts of Speech

Parts of Speech ส่วนของคำพูด

Part of speech คืออะไร มีอะไรบ้าง

ก่อนอื่นลองอ่านเนื้อเรื่องง่ายๆ นี้ก่อนครับ
My name is Tom. (นาม)
I am American. (สรรพนาม)
I’m tall and slim. (คุณศัพท์)
I can play tennis. (กริยา)
And I can run fast. (กริยาวิเศษณ์)
I love Thailand and Thai people. (สันธาน)
It’s hot in April. (บุรพบท)
Well!! I must go now. Bye. (อุทาน)

สรุปแล้ว parts of speech คือ คำชนิดต่างๆ ซึ่งมีด้วยกัน 8 ชนิด
1. Noun (คำนาม) คือคำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ (รวมถึง ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่)
• คน เช่น boy girl man student doctor king father/ John Sam Ted Tom
• สัตว์ เช่น dog cat bird tiger / Simba Kitty
• สิ่งของ เช่น TV radio fan car soap / Sony Samsung Lux
• สถานที่ เช่น market bank city country / London Thailand England
2. Pronoun (สรรพนาม) คือ คำที่ใช้แทนคำนามด้านบน เช่น I you he she it this that
3. Adjective (คุณศัพท์) คือคำที่ใช้บอกลักษณะของคำนาม เช่น tall short small big
4. Verb (กริยา) คือคำที่ใช้แสดงการกระทำ เช่น go come run walk
5. Adverb (กริยาวิเศษณ์) คือคำที่ใช้อธิบายการกระทำว่าทำอย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เช่น fast slowly here there today yesterday
6. Conjunction (คำสันธาน) คือคำที่ใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยค เช่น and but or so
7. Preposition (คำบุรพบท) คือคำที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของคำ เช่น in on at by from
8. Interjection (คำอุทาน) คือคำที่ใช้แสดงอารมณ์ตื่นเต้น ดีใจ เสียใจ เช่น wow eh um
แล้วหัวข้อไหนที่ควรเรียนให้แจ่มแจ้ง และตัวไหนไม่จำเป็น
หัวข้อที่ไม่จำเป็นต้องเรียนให้แจ่มแจ้งคือ 5 6 7 8 เพราะไม่มีอะไรซับซ้อน คล้ายภาษาไทยเลย
ส่วน 4 ข้อแรกต้องศึกษาให้ละเอียดแจ่มแจ้งหน่อย เพราะกฎเกณฑ์ต่างจากภาษาไทยค่อนข้างมากทีเดียว ซึ่งหัวข้อที่ควรศึกษามีรายละเอียดดังนี้
1. คำนาม
• นามทั่วไป กับนามเฉพาะ (เรียนผ่านแล้วผ่านเลย ไม่สำคัญเท่าไหร่)
• นามเอกพจน์ พหูพจน์ (เรียนให้เข้าใจ จำให้ได้) เพราะ
– การเปลี่ยนเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าคำนั้นมีพยัญชนะตัวใดลงท้าย เช่น s, sh, ch, x, o, y, f เป็นต้น
– นามพหูพจน์บางตัวไม่เปลี่ยนรูปเลย ไม่ว่าเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ เช่น deer sheep fish
– นามบางตัวลงท้ายด้วย s ซึ่งน่าจะเป็นพหูพจน์ แต่กลับเป็นเอกพจน์เฉยเลย เช่น news, physics
– นามบางตัวเปลี่ยนสระภายในเพื่อแสดงความเป็นพหูพจน์ เช่น men children
– และอื่นๆ อีก
2. สรรพนาม
• บุรุษสรรพนาม (Personal pronoun) สรรพนามที่คนไทยสับสนเพราะมี 2 ประเภท แยกชัดเจนว่าตัวไหนเป็นประธาน ตัวไหนเป็นกรรม
3. คุณศัพท์
• แปลงร่างได้ สามแบบ คือ ขั้นปกติ ขั้นกว่า ขั้นสูงสุด และมีหลักเกณฑ์แยกย่อยไปอีกว่าทำยังไงให้ถูกต้องตามหลักภาษา
4. กริยา
• สุดยอดของหัวใจวายากรณ์ สุดยอดแห่งความยาก (สำหรับนักเรียนส่วนใหญ่ เพราะขี้เกียจจำ)
• กริยาหนึ่งตัวแปลงร่างได้หลากหลายเช่น go goes going went gone ทั้งหมดที่เห็นนี้แปลว่า ไป แต่ไปคนละแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเอาไปใช้ Tense อะไร
• กริยาแต่ละ Tense มีหน้าตาไม่เหมือนกันเลย หรือมีเหมือนกันบ้าง
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ต้องเรียนให้เข้าใจ เพราะเป็นหัวใจของหลักภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง เดี๋ยวครูจะพาลุยด่าน 18 อรหันต์เองครับ รับรองไม่ยากหรอกไวยากรณ์หน่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น